รู้จัก ดอกลำโพงกาสลัก

รู้จัก ดอกลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก ชื่อวิทยาศาสตร์  (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ

สมุนไพรลำโพงกาสลัก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือบ้าดอกดำ (ลำปาง), ลำโพงกาลัก (ชุมพร, สุราษฎร์ธานี), กาสลัก, ลำโพงแดง, ลำโพงดำ, ลำโพงกาสลัก (ภาคกลาง) เป็นต้น

ต้นลำโพง หลัก ๆ ในบ้านเราที่นิยมนำมาใช้ทำยาจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ลำโพงขาว (ต้นเขียว ดอกสีขาว), และลำโพงกาสลัก (ต้นสีแดงเกือบดำ ดอกสีม่วงเป็นชั้น ๆ) และในด้านการทำยาจะนิยมใช้ลำโพงกาสลักดอกสีม่วงม่วงดำ ยิ่งซ้อนชั้นมากยิ่งมีฤทธิ์แรง

ลักษณะของลำโพงกาสลัก

  • ต้นลำโพงกาสลัก จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีม่วง

ต้นลำโพงกาสลัก

  • ใบลำโพงกาสลัก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนและไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร

ใบลำโพงกาสลัก

  • ดอกลำโพงกาสลัก ออกดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบบานเป็นรูปแตร กลีบซ้อนกัน 2-3 ชั้น ดอกยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก

ดอกลำโพงกาสลัก

รูปดอกลำโพงกาสลัก

  • ผลลำโพงกาสลัก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดประมาณ 1-1.5 นิ้ว ผิวเป็นขนคล้ายหนามเป็นตุ่ม เนื้ออ่อนเป็นตุ่ม ๆ รอบ ขั้วเป็นแผ่นกลมหนาริมคม ผลเป็นสีเขียวอมม่วง พอผลแห้งจะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลมแบนคล้ายเมล็ดมะเขือ

Related Posts

สรรพคุณดอกรักเร่

สรรพคุณดอกรักเร่

สรรพคุณ ดอกคาร์เนชั่น Carnation

สรรพคุณ ดอกคาร์เนชั่น Carnation

ดอกพุดตาน

ดอกพุดตาน

ความหมาย ดอกลำโพงกาสลัก

ความหมาย ดอกลำโพงกาสลัก