ดอกหิรัญญิการ์

ดอกหิรัญญิการ์

ดอกหิรัญญิการ์

ดอกหิรัญญิการ์

ชื่อวิทยาศาสร์ Beaumontia brevityba. Oliv. ตระกูล APOCYNACEAE ชื่อสามัญ Nepal Trumpet

ลักษณะทั่วไป

ต้น หิรัญญิการ์เป็นไม้เถาใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่วนยอดหรือส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม หิรัญญิการ์มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 15 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือ บริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ใบ หิรัญญิการ์เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และ กว้างป ระมาณ 4-6 เซนติเมตร ใบด้านบนเป็นมัน

ดอก ดอกหิรัญญิการ์มีขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณ โคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน หนึ่งดอกมีเกสร ตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ดอกเมื่อบานเต็ม ที่จะมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยายประมาณ 13 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้ง แต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก

Related Posts

สรรพคุณดอกรักเร่

สรรพคุณดอกรักเร่

สรรพคุณ ดอกคาร์เนชั่น Carnation

สรรพคุณ ดอกคาร์เนชั่น Carnation

ดอกพุดตาน

ดอกพุดตาน

ความหมาย ดอกลำโพงกาสลัก

ความหมาย ดอกลำโพงกาสลัก